โพชฌังคะปะริตตัง (โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริต-ตัง)
เป็นบทสวดประเภทสัจกิริยา แปลว่า การตั้งความสัตย์
การอธิษฐานในใจโดยอ้างสัจจะ จะมีผลต่อการบำบัดโรค
是誦經篇 假定忠實在祈禱 心中的誓言 將有效於治病
ทะสะมัง โพชฌังคะปะริตตัง (ทะ-สะ-มัง-โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริต-ตัง)
โพชฌังโค สะติมังขาโต (โพด-ชัง-โค-สะ-ติ-ขา-โต)
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือสติสัมโพชฌงค์
佛教啟蒙七點 是理性啟蒙
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา (ธัม-มา-นัง-วิ-จะ-โย-ตะ-ถา)
ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
佛法研究好的啟蒙
วิริยัมปิติ ปัสสัทธิ (วิ-ริ-ยัม-ปิ-ติ-ปัส-สัท-ธิ)
วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
佛陀的勤奮歡喜信仰
โพชฌังคา จะตะถาปะเร (โพด-ชัง-คา-ปะ-ตะ-ถา-ปะ-เร)
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา (สะ-มา-ธุ-เป-กะ-ขะ-โพช-ฌัง-คา)
สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
佛陀的禪坐與公正
สัตเตเต สัพพะทัสสินา (สัด-เต-เต-สับ-พะ-ทัด-สิ-นา)
๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า
這七種類型 是釋迦牟尼的法典
มุนีนา สัมมะทักขาคา (มุ-นี-นา-สัม-มะ-ทัก-ขา-คา)
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงไว้ชอบแล้ว
修行者看到全部正切的法典
ภาวิตา พะหุลีกะตา (ภา-วิ-ตา-พะ-หุ-ลี-กะ-ตา)
อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
使人學習佛學更多更深
สังวัตตันติ อะภิญญายะ (สัง-วัด-ตัน-ติ-อะ-พิน-ยา-ยะ)
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
必定是為著更多知道
นิพพานายะ จะโพธิยา (นิบ-พะ-พา-นา-ยะ-จะ-โพ-ธิ-ยา)
เพื่อความตรัสรู้และความนิพพาน
為著成佛和圓寂
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ (เอ-เต-นะ-สัด-จะ-วัก-เช-นะ)
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
以解釋這種誓言
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา (โสด-ถิ-เต-โห-ตุ-สับ-พะ-ทา)
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
請求吉祥必現到有佛心的人至永遠
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ (เอ-กัด-สะ-มิง-สะ-มะ-เย-นา-โถ)
ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตร
在輪廻時 佛的道上佛的施布佛的領導
โมคคัลลานัญจะกัสสะปัง (โมก-คัน-ลา-นัน-จะ-กัด-สะ-ปัง)
เห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะ
見到僧侶“莫卡拉那”和大僧侶“咖撒巴”
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา (คิ-ลา-เน-ทุก-ขิ-เต-ทิด-วา)
เป็นไข้ได้รับความลำบาก
病患得到困難
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ (โพด-ชัง-เค-สัด-ตะ-เท-สะ-ยิ)
จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง
於是佛教啟蒙七點使兩位僧侶聽
เต จะ ตัง อะภินั้นทิตวา (เต-จะ-ตัง-อะ-ภิ-นั้น-ทิต-วา)
ท่านทั้งสองนั้นชื่นชมยินดี ซึ่งโพชฌงคธรรม
兩位僧侶全十分喜悅參與 佛陀的佛法
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเฌ (โร-คา-มุจ-จิง-สุ-ตัง-ขะ-เน)
ก็หายโรคได้ในบัดดล
就馬上能消失
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ (เอ-เต-นะ-สัด-จะ-วัก-เช-นะ)
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
以解釋這種誓言
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา (โสด-ถิ-เต-โห-ตุ-สับ-พะ-ทา)
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
請求吉祥必現到有佛心的人至永遠
เอกะทา ธัมมะราชา (เอ-กะ-ทา-ธัม-มะ-รา-ชา)
ในครึ่งหนึ่ง องค์พระธรรมราชา (พระพุทธเจ้า)
在這一回是佛祖
ปิเคลัญเญนาภิปิลิโต (ปิ-เค-ลัน-เย-นา-ภิ-ปิ-ลิ-โต)
ทรงประชวรเป็นไข้หนัก
生重病的病者
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ (จุน-ทัด-เถ-เร-นะ-ตัน-เย-วะ)
รับสั่งให้พระจุนทะเถระ
吩咐僧侶“春塔貼拉”
ภะฌาเปตวานะสาทะรัง (ภะ-นา-เปด-วา-นะ-สา-ทะ-รัง)
กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแล ถวายโดยเคารพ
釋迦牟尼說這樣和那樣 誠心誠意的奉獻
สัมโมทิตวา วา จะ อาพาธา (สัม-โม-ทิด-วา-วา-จะ-อา-พา-ธา)
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัยหายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
病痛就會突然愉快的從心靈消失
ตัมหา วุฏฐาสิฐานะโส (ตัม-หา-วุด-ฐา-สิ-ฐา-นะ-โส)
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ (เอ-เต-นะ-สัด-จะ-วัก-เช-นะ)
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
以解釋這種誓言
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา (โสด-ถิ-เต-โห-ตุ-สับ-พะ-ทา)
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
請求吉祥必現到有佛心的人至永遠
ปะหีนา เต จะ อาพาธา (ปะ-หี-นา-เต-จะ-อา-พา-ธา)
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่
就是全部患病那樣 還有一個偉大的持戒者
ติณนันนัมปิมะเหสินัง (ติณ-นัน-นัม-ปิ-มะ-เหสิ-นัง)
ทั้ง ๓ องค์นั้นหายแล้วไม่กลับเป็นอีก
三位持戒者全部痊癒了沒有再患病
มัคคาหะตะกิเลสาวะ (มัค-คา-หะ-ตะ-กิ-เล-สา-วะ)
ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว
仿佛煩惱 符合聖者之道消除可惜
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง (ปัต-ตา-นุป-ปัต-ติ-ธัม-มะ-ตัง)
ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
到道那些普通的事情不在發生
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ (เอ-เต-นะ-สัด-จะ-วัก-เช-นะ)
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
以解釋這種誓言
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา (โสด-ถิ-เต-โห-ตุ-สับ-พะ-ทา)
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
請求吉祥必現到有佛心的人至永遠