2014年10月19日 星期日

泰國著名佛寺 也是皇家佛寺 九世王親躬始建 วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์




泰國前總理穎拉女士參加葬禮儀式 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.ดร.อภิวันท์ ...











































บรรยากาศพิธีพระราชทานเพลิงศพ พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย วันนี้ที่วัดบางไผ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคเพื่อไทย อาทิ นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีต รมช.ศึกษาธิการ รวมถึง แกนนำกลุ่ม นปช.อาทิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายเเพทย์เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และนางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธาน นปช. รวมถึงประชาชนจำนวนมากเดินทางเข้าร่วมในพิธี



โดยในเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวัง จะอัญเชิญไฟพระราชทานมาถึง วัดบางไผ่ โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธี

ซึ่งเมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาถึง ได้เป็นประธานในพิธี ทำการวางผ้าบังสุกุล จากนั้นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย วางดอกไม้จันทร์ จากนั้นได้เดินทางกลับทันทีไม่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนแต่อย่างใด ท่ามกลางประชาชนที่มารอต้อนรับพร้อมพยายามกรูกันเข้าไปขอจับมือและถ่ายรูป

ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ เวลา 08.00 น.จะมีพิธีเก็บอัฐิ เพื่อนำไปลอยอังคารต่อไป

ในส่วน มาตราการรักษาความปลอดภัยนั้นเป็นไปอย่างเข้มงวดโดยรอบสถานที่การจัดงานนั้น มีเจ้าหน้าตำรวจ พร้อมด้วยเครื่องสแกน คอยสแกนอาวุธ ก่อนที่เข้างาน

สำหรับ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฏร์ และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่เสียชีวิต ด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยวันนี้ก็จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ

2014年8月29日 星期五

泰國新總理巴育上將對國民的發言“關於使人民在國家裡恢復幸福” คืนความสุข ให้คนในชาติ



รายการคืนความสุขให้คนในชาติ

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่รักและเคารพทุกท่าน วันนี้พบกันอีกครั้ง และเนื่องด้วยในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้กระผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดในชีวิตของผมและวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้ ผมตระหนักดีถึงภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ต้องขอขอบคุณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้การสนับสนุนผมเป็นอย่างดี และมอบความไว้วางใจให้ผมนั้นดำเนินการในเรื่องของการบริหารประเทศในระยะต่อไป ขอขอบคุณอีกครั้งในแรงสนับสนุนต่าง ๆ เหล่านั้น ผมยินดีที่จะรับภาระในการทำทุกอย่างให้ประเทศชาติก้าวไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน นับจากนี้ไปผมต้องรับผิดชอบในการนำพาประเทศชาติและประชาชนให้ก้าวเดินไปข้างหน้า ร่วมกันพัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในชาติต่อไป ในระยะที่ 2 ซึ่งการบริหารประเทศทุก ๆ ด้าน ในบทบาทของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนงานเร่งด่วนเฉพาะหน้า ที่ต้องการความรวดเร็ว โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องมีการหารือในการปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องระมัดระวังการก้าวล่วงกัน แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลกัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สุจริตและยุติธรรม ขอทุกคนอย่าได้กังวลกับตัวบุคคลให้มากนัก วันนี้เราต้องสร้างระบบทุกระบบให้เข้มแข็ง เพื่อต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบข้าราชการ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ส่วนราชการ อันได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้มแข็ง เตรียมการเพื่อรองรับการปฏิรูป ซึ่งเราจะต้องทำให้ฝ่ายการเมืองมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ จะได้ร่วมกันนำพาประเทศชาติไปสู่อนาคต อย่างไรก็ตามผมถือว่าประชาชนเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของพวกเราในขณะนี้ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ ทั้งในงานความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านเศรษฐกิจมีปัญหาอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนเกษตรกร ประชาชนโดยรวมทุกภาคส่วนคงต้องร่วมมือกันทุกรูปแบบนะครับ
ปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญหน้า
เรามีปัญหาที่สะสมสำคัญ ๆ มากมาย ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  อาทิ ปัญหาด้านความมั่นคง เคยเรียนไปแล้ว ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาส ปัญหามาเฟียผู้มีอิทธิพล ปัญหาชายแดน ทั้งในเรื่องของเขตแดน การหลบหนีเข้าเมือง สินค้าหนีภาษี ปัญหาด้านความมั่นคงภายใน ในเรื่องยาเสพติด อาชญากรรม อาวุธสงคราม การพนัน แรงงานต่างด้าว ซึ่งเราได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาบางส่วนไปแล้ว
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะต้องเดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาวะการณ์ของโลกด้วย การส่งเสริมการลงทุนในภาคต่าง ๆ การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อย การปรับโครงสร้างภาษีให้เกิดความเป็นธรรม ปัญหาปากท้องประชาชนเหล่านี้เป็นความท้าทายที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาค และการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของไทยสู่ระดับภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เราสำรวจแล้วพบว่าปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีจุดด้อยที่สำคัญในด้านระบบราชการ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ กฎหมายและกระบวนการเพื่ออำนวยความสะดวกภาคธุรกิจก็ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการประกอบธุรกิจของนักธุรกิจต่างชาติ จากศักยภาพเราในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 12 ปี เพื่อจะก้าวผ่านกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เข้าสู่ประเทศรายได้สูง ในขณะที่เพื่อนบ้านบางประเทศจะเข้าสู่ประเทศรายได้สูงด้วยระยะเวลาอีกเพียง 6 ปีเท่านั้น เราคงต้องเร่งรัด
นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งมีมิติด้านเศรษฐกิจเป็น 1 ใน 3 เสาหลักจะเป็นความท้าทายสำคัญของไทยที่ต้องได้รับการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางประเทศ ซึ่งเป็นทั้งประเทศหุ้นส่วนและคู่แข่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย
สรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนแรงงานถูก และประเทศที่มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีขั้นสูงได้ ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยทรงตัวท่ามกลางการเปิดเสรีและการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรม
ได้แก่ ระบบการศึกษา การปลูกจิตสำนึก การดำรงซึ่งวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การปลูกฝังค่านิยม การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ทั้งนี้ปัญหาที่เรื้อรั้ง และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น คือความเหลื่อมล้ำของโอกาส สร้างรายได้ กระจายรายได้ และกระจายความมั่งคั่งที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา คนจนรายได้น้อยขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาชั้นมัธยมปลายและอุดมศึกษา ตลอดจนคุณภาพการศึกษาของไทยยังคงต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขยายโอกาสในการสร้างรายได้ก็ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้การหลุดพ้นจากวงเวียนความยากจนเป็นไปได้อย่างยากยิ่ง
การเป็นสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ส่งผลโดยตรงต่อศักยภาพในการแข่งขันของประเทศลดลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านแรงงานและอัตราส่วนการพึ่งพิงของวัยชราที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และยังเป็นการเพิ่มภาระทางการคลังผ่านค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการชราภาพที่เพิ่มขึ้น ไทยจึงต้องเร่งปรับปรุงระบบสวัสดิการของรัฐเพื่อดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของคนไทยอยู่แล้วเราต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ของเราให้ดีที่สุด ก็เป็นที่น่ายินดีที่วันนี้อายุยืนขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องหาทางที่จะดูแลคนเหล่านี้ให้ได้
ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ในเรื่องของการบุกรุกป่าไม้ ปัญหาขยะ ปัญหามลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและสังคมเมือง โจทย์อีกประการหนึ่งที่เราเห็นเด่นชัด คือ การผลักดันเศรษฐกิจที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติรุนแรงเกินไปในการจัดตั้งโรงงาน หรือการประกอบกิจการต่าง ๆ ทางด้านอุตสาหกรรม ที่ผ่านมานั้นเศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตมาก พร้อมกับการก่อมลภาวะ โดยได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสัดส่วนการใช้พลังงานและการนำเข้าพลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้ว่าจะมีการนำวัสดุรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์จนเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สัดส่วนการใช้ก็ยังไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องโน้มน้าวผู้บริโภคและผู้ประกอบการตลอดประชาชนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ปัญหามลภาวะและภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงเกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนหนึ่งจากการแสวงหาประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกบ่อนทำลายลง ทำให้ภาครัฐต้องมีการวางระบบช่วยเหลือ เยียวยา และป้องกันผู้ประสบภัยที่ทันต่อเหตุการณ์
ปัญหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
การแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่สอดคล้องกับพันธะสัญญาต่าง ๆ  กฎหมายที่ส่วนราชการต้องแก้ไขเพื่อความสะดวกและความถูกต้อง แต่ค้างคาอยู่ในรัฐบาลก่อน ๆ ที่ผ่านมานั้น ปัจจุบัน คสช. ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือกฎหมายเหล่านั้นไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนไปบ้างแล้ว ทุกกฎหมายนั้นได้ผ่านการพิจารณาในขั้นต้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผ่านที่ประชุม คสช. ในฐานะคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ล้าสมัย และแก้ไขปัญหาของประชาชนทั้งสิ้น
ในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น เป็นการฝังรากลึกมาในสังคมไทยอยู่ยาวนาน จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในเรื่องที่เร่งด่วนภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยการปลูกฝังค่านิยมที่ไม่ยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น การลงโทษผู้ที่กระทำความผิดในเรื่องนี้อย่างจริงจัง การปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้าง การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การบริหารราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจให้มีธรรมาภิบาล ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับหลักสากล เช่น การพิจารณาให้คดีการทุจริตคอรัปชั่นจะมี หรือไม่มีอายุความ การเพิ่มโทษในคดีทุจริตคอรัปชั่นให้มีผลบังคับใช้ทั้งผู้ให้และผู้รับหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมามักไม่มีการเอาผิดเอกชนที่เสนอให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง
มีข้อท้วงติงมากมายจากผู้ที่ห่วงใยในเรื่องนี้ว่า คสช. ไม่ได้นำเรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมาอยู่ใน 11 ประเด็นหลักของการปฏิรูป ขอเรียนชี้แจงว่า คสช. ให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นประเด็นที่ต้องมีการปฏิรูปเป็นประเด็นแรก โดยการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก มีความกว้างขวางเกี่ยวข้องกับทุก ๆ เรื่อง หากกำหนดเป็นประเด็นหลักของการปฏิรูปก็จะไม่ครอบคลุมการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในทุก ๆ มิติ เพราะฉะนั้นทุกเรื่องจำเป็นต้องใส่เรื่องนี้เข้าไปด้วยในทุกกลุ่มงาน จึงกำหนดให้เป็นเงื่อนไขสำคัญของทุก ๆ หัวข้อของการปฏิรูป ทั้งด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องให้ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น ดังที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวปีพุทธศักราช 2557 มาตรา 27 ที่กำหนดว่า ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งโดยสุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้การบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
ยุทธศาสตร์ประเทศ เรามียุทธศาสตร์หลายประการด้วยกัน เราเขียนยุทธศาสตร์ไว้แล้ว เราต้องเดินตามนั้นให้ได้ และก็ปรับเปลี่ยนให้เข้าสถานการณ์ของโลกด้วย ของอาเซียนด้วย เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม คณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้น จะต้องเดินการไปตามนี้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน และก็ปรับเปลี่ยนไปตามห้วงเวลาที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นต้องประกอบกับแผนงานโครงการ งบประมาณ ในการดำเนินการในทุกมิติ ทุกยุทธศาสตร์ให้ต่อเนื่อง มีการกำหนดแผนระยะสั้น ระยะยาว ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนที่ 11 และแผนต่อ ๆ ไป ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
เรื่องความคืบหน้าการปฏิบัติงานในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา  ที่ประชุม คสช. ให้ความสำคัญมาก เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาได้อนุมัติงบประมาณเร่งด่วนในการปรับปรุงระบบคัดกรองผู้โดยสารเครื่องบินล่วงหน้าที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง สั่งการให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงห้องรับผู้ป่วยที่ทันสมัย จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ชุดป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกและดูแลเจ้าหน้าที่ด้วย ถ้าติดไปที่เจ้าหน้าที่ทุกคนก็ไม่อยากจะรักษา ไม่อยากจะรับคนไข้ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมเป็นห่วง ได้อนุมัติงบประมาณเร่งด่วนไปร้อยกว่าล้าน ในการจัดหาสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ซึ่งต่อไปคงจะขยายไปในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เพราะเรามีหลายภาคด้วยกัน อันนี้ก็บางส่วนที่เร่งด่วนก็ทำไปก่อน และให้มีการชี้แจงให้ความรู้บุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้สามารถป้องกันโรคระบาดได้อย่างถูกต้องถูกวิธี ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ในทุก ๆ ช่องทาง ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ด่านตรวจต่าง ๆ จะต้องเฝ้าระวังและเข้มงวดในการตรวจตรา และต้องทราบว่าอาการของผู้ติดเชื้ออีโบล่า หรือเชื้อไวรัสที่รุนแรงหรือเชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงเป็นอย่างไร ฉะนั้นผมอยากให้กระทรวงสาธารณสุขส่งรายละเอียดไปทุกด่านตรวจ ทุกจุดสกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทุกหน่วยงาน รวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย ไม่ใช่เฉพาะอีโบล่าอย่างเดียว ก็ขอขอบคุณและชื่นชมผู้ป่วยต้องสงสัยเพศหญิงที่กลับมาจากต่างประเทศ ทำงานในการช่วยเหลือสังคม ซึ่งตระหนักถึงหน้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความร่วมมืออย่างดีในการควบคุมเฝ้าระวังโรคเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนได้รับคำยืนยันแล้วว่าไม่ได้ติดเชื้อแต่ประการใด จึงเดินทางกลับบ้าน ขอขอบคุณนะครับเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว ไม่เป็นปัญหากับคนอื่น ๆ ก็รู้ตัวก็ไปพบหมอและก็แจ้งให้เขาทราบเขาก็ได้มีการเฝ้าระวัง ขอขอบคุณเป็นตัวอย่างที่ดีอีกอันหนึ่ง
เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน  ที่ประชุม คสช. เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบตามที่เสนอมา แต่คงต้องไปดูกัน ไปแก้ไขกันใน สนช. อีกครั้งหนึ่ง ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทย เนื่องจากมีผู้มีรายได้น้อยเป็นจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ยังไม่มีผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น การขาดความชัดเจนในหลักเกณฑ์การแก้ปัญหา เจ้าหนี้เดิมไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ไม่มีคนกลางในการช่วยกันเจรจาประนอมหนี้ ลูกหนี้ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน โดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาผ่านองค์กรการเงินชุมชน เช่น สถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเหล่านี้ การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจะต้องคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันระหว่างชุมชนเมือง และชุมชนในเขตชนบทด้วย
สำหรับเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ที่ประชุม คสช. เห็นชอบหลักการกรอบแผนการลงทุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุดที่ 1 ปี 2557-2560 ภายใต้แผนพลิกฟื้นองค์กรของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และอนุมัติโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุดที่ 1 ปี 2557 รวม 38 โครงการ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจฯ เมื่อ 3 ตุลาคม 2556 ส่วนงบประมาณให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดทำรายละเอียดและขอทำการตกลงกับ สำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้การค้ำประกันการชำระหนี้ดังกล่าว ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการตามกฎหมาย ตามระเบียบข้อบังคับ และมติ ครม. ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยให้คำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ครบทุกมิติ เช่น พื้นที่ทำมาหากิน  ตลาด เพื่อได้ค้าขาย รวมทั้งระบบขนส่งคมนาคม รถเมล์ รถไฟฟ้า ต่าง ๆ ให้สามารถที่จะเดินทางมาค้าขายได้เป็นปกติ คงใช้เวลาสักระยะหนึ่ง
เรื่องการปรับโครงสร้างของบริษัทการบินไทย  เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา คสช. ได้มีการเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงการดำเนินการและแผนธุรกิจของบริษัทการบินไทย  ถึงแม้ว่าการบินไทยจะประสบปัญหาขาดทุน แต่ยังมีพื้นฐานเดิมที่ดีอยู่ ซึ่งหากได้รับการปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเหมาะสมจะมีศักยภาพสูงในการดำเนินงานภายในระยะเวลาอันใกล้ และต่อไปในอนาคต ที่ประชุมมีความมั่นใจว่าฐานะทางการเงินของบริษัทการบินไทยยังไม่เลวร้ายเหมือนที่ปรากฏเป็นข่าว เพราะยังมีระดับเงินสดอยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเกินกว่า 46,000 ล้านบาท อีกทั้ง จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการได้ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็ให้ความสนใจที่จะให้การสนับสนุนในด้านสภาพคล่อง และในกรณีจำเป็นหากเกิดปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งกระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะดูแลในเรื่องนี้
จากนโยบาย คสช. ที่ต้องการให้เกษตรกรแต่ละพื้นที่มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในระดับชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร อำเภอละ 1 ศูนย์ รวมทั้งสิ้น 882 ศูนย์ ซึ่งแต่ละศูนย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศนั้น จะมีความแตกต่างกันทั้งด้านดิน น้ำ ภูมิอากาศ ทำให้แต่ละศูนย์สามารถจะสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกพืชต่างชนิดกันได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว ก็จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เรื่องข้าว ได้คัดเลือกศูนย์เรียนรู้ ต.ช้างใหญ่ ซึ่งเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาจนประสบความสำเร็จสามารถถ่ายทอดและเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรายอื่นได้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ นั้น จะเริ่มจากการปรับกระบวนทัศน์ให้เกิดจิตสำนึกในการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ปฏิบัติจริง ในการลดต้นทุนการปลูกข้าว การพัฒนาพันธุ์ข้าวและอื่น ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริงและเหมาะสมกับพื้นที่ อันนี้ก็ให้ตรงกับการที่เราจะโซนนิ่งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชเกษตรกรรมต่าง ๆ นั้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีน้ำ ไม่มีน้ำ แล้งซ้ำซากจะทำอย่างไรก็ไปปรับให้ตรงกับพื้นที่ด้วย ฝากกระทรวงเกษตรฯ ฝากประชาชนไปหาความรู้จัดตัวแทนไป ถ้าจำเป็นก็ขอวิทยากรไปแนะนำในพื้นที่ก็ได้ อันนี้ก็เพิ่มเติม
ในเรื่องการตรวจสอบค่าใช้จ่ายงบประมาณรัฐให้มีความคุ้มค้าโปร่งใส โดยคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และฝ่ายต่าง ๆ ของ คสช. นั้น ทำให้ในหลายโครงการสามารถลดงบประมาณลงได้จำนวนหนึ่ง โดยยังคงเนื้องานและคุณภาพงานเช่นเดิม อันนี้เป็นตัวอย่างสำคัญประการหนึ่ง ถ้าทุกคนช่วยกัน รัฐช่วยกันดูแล ไม่ทุจริต ไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรก็แล้วแต่ ประชาชนก็ร่วมมือเฝ้าระวัง หน่วยตรวจสอบก็เข้าไปตรวจสอบ การเสนอราคา การจัดซื้อจัดจ้าง การทำ TOR ก็ลดราคาลงได้หมด เพราะฉะนั้นฝากเรื่องนี้ไปแล้ว เราเคยมีนโยบายเรื่องนี้ไปแล้ว
เรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญ เรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องขออภัยนะครับอยากให้มีการปรับปรุง พัฒนาทุกอย่าง ตอนนี้อย่าโกรธกันไปมาเลยนะครับ เราต้องการให้ได้รับการยอมรับ ไม่ได้มุ่งหมายจะไปทำลายชื่อเสียง เกียรติยศหรือองค์กรของท่าน โดยอาจจะมีส่วนน้อยที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง เราคงต้องช่วยกันกำกับดูแล  เพราะว่าเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด ประชาชนจะได้ประโยชน์โดยเร็วหรือเป็นผลสัมฤทธิ์อะไรต่าง ๆ ในพื้นที่ จะได้จากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก่อนทั้งสิ้น เพราะใกล้ตัวท่าน งบประมาณจำนวนไม่มากนัก ต้องขอบคุณทุกท่านใน อปท. ที่ให้ความร่วมมือให้เวลา คสช. เพื่อเดินหน้าสู่การปฏิรูป คสช. ไม่เคยนิ่งนอนใจต่อความต้องการของท่าน กำลังพิจารณาประเด็นปัญหาต่าง ๆ เพื่อทางแก้ไข เช่น ในเรื่องของการคัดสรรข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวระหว่างที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง วันนี้ก็เตรียมการให้เข้าดำเนินการแก้ไข เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อจะทำให้เกิดความเป็นธรรม พอใจของพี่น้องทุกฝักทุกฝ่าย อะไรที่ทำไปแล้ว แล้วไม่เรียบร้อย มีปัญหาก็แก้ไขได้ ใจเย็น ๆ ก็ขอให้เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายก็แล้วกัน โดยในส่วนที่เรื่องใดก็ตามที่ คสช. สั่งการไปแล้วเป็นการเร่งด่วน ถ้าไม่เหมาะสม ถ้ามีปัญหาก็นำเข้าแก้ใน คสช. ได้ ถึงแม้จะเป็นกฎหมายแล้วก็ตาม เราถึงมี สนช. ไว้
ในส่วนที่จะต้องแก้ไขส่วนใหญ่นั้น ต้องไปแก้ในเรื่องของสภาปฏิรูปและมีประชาชนมาให้ความคิดเห็น เสนอเข้ามาในสภาปฏิรูปเพิ่มเติม อันนี้ผมถือว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นการปฏิรูปนั้นเป็นส่วนสำคัญไม่ใช่ คสช. จะไปผลักดันในทุกเรื่องได้
กรณีการพูดถึงกันในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรม ระหว่างตำรวจ อัยการ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเราได้แก้ไขไปในชั้นต้น เพื่อความสงบเรียบร้อยในช่วงนี้ ในระดับต่อไป จะได้มีการทบทวน ปรับปรุง แก้ไข ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป การเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น พลังงาน ยางหรืออื่น ๆ ขอให้นำการแก้ไขทั้งระบบ เช่น การปรับโครงสร้าง ราคายาง ราคาพลังงานซึ่งมีความเกี่ยวพันมากมาย ไปแก้ในภาพใหญ่ที่สภาปฏิรูป
ในส่วนของการแก้ไขเร่งด่วน ขณะนี้ คสช. แก้มาโดยตลอดไม่ว่าจะเรื่องข้าว เรื่องยาง เรื่องต่าง ๆ ไม่ได้หยุดนะครับ พูดกันทุกวันคุยกันทุกวัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คสช. ไม่เคยนิ่งนอนใจสักเรื่องหนึ่ง ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน ผมบอกแล้วว่าเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาที่ต่อเนื่องยาวนานไปอีก เพราะฉะนั้นวันนี้ขอร้อง อย่าเพิ่งประท้วงต่อต้านเลย เมื่อวานก็ได้ให้มีการพูดคุยไปแล้วกับสมาคมต่าง ๆ 5 - 6 สมาคมก็เข้าใจดี สำคัญอยู่ที่ว่า เวลาไปถ่ายทอดกันอะไรกันขอให้ถ่ายทอดให้ครบ และขอประเด็นเดียวเท่านั้นเอง ถ้าช่วยกันมันก็แก้ได้ ถ้าไม่ช่วยกันมันก็จะกลับไปแบบเดิมอีก เพราะถ้าเราแก้แบบเดิม แก้ที่ปลายเหตุก็จะแก้ที่ปลายเหตุตลอดไป เราก็แก้แบบนี้มาเกือบทั้งชีวิตแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องแก้ทั้งต้นเหตุ กลางเหตุและปลายเหตุ ติดขัดด้วยข้อกฎหมายหลายอย่าง กฎอัยการศึกวันนี้ที่มีไว้ นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปปิดกั้นท่านผมไม่เคยใช้กฎอัยการศึกไปปิดกั้นใครเลย เพียงแต่ว่า ทำอย่างไร บ้านเมืองจะสงบเท่านั้นเอง ถ้าท่านไม่ได้ทำอะไรที่มันเกิดปัญหากับความสงบเรียบร้อย ท่านเสนอความคิดเห็นใด ๆ ก็ตามมา ไม่ได้เป็นการปลุกระดมคนขึ้นมา มาเดินขบวน มาขัดแย้งกัน มันก็ไม่จบสักทีนะขอร้อง ขอสักระยะหนึ่ง ก็วันนี้พูดไปสิครับว่าเรามีกฎอัยการศึกทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่ใช่กฎอัยการศึกที่มีอยู่ทำให้บ้านเมืองไม่เรียบร้อย แต่โอเค อาจจะรู้สึกว่าถูกปิดกั้นบ้างอะไรบ้าง ใครจะมาเที่ยวก็มาสิครับเชิญเขามาเรามีกฎหมาย เข้าปลอดภัยกว่าเดิมด้วยซ้ำไป เดิมไม่มีกฎหมายนี้ปลอดภัยไหมละครับ ฝากด้วยบ้างด้วย  คิดไปอีกมุมหนึ่งบ้าง ว่าบ้านเมืองเราอยู่ใน ระยะเวลาอะไรเราควรจะมีกฎหมายอะไรไว้บ้าง ไม่อย่างนั้นก็วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปปิดกั้น อยากเสนออะไรไปเสนอมา เป็นที่เป็นทาง จะจัดสถานที่ให้ ส่งเจ้าหน้าที่ไปถกแถลงกันด้วยความสงบ บางอย่างแก้ไขทันทีไม่ได้ เรื่องนี้เราให้กรณีพิเศษ
ในเรื่องพลังงาน อยากให้ทุกฝ่ายไปใคร่ควรไว้ว่า เราจะพูดคุยกันได้อย่างไรทั้งสองฝักสองฝ่ายหรือสามฝ่ายก็ไม่รู้ ถ้านำต้นทาง กลางทาง ปลายทาง มาพูดกันโดยไม่ได้จัดระเบียบกัน ไม่รับฟังซึ่งกันและกันเลยพูดกันไม่รู้เรื่องแน่นอน เพราะฉะนั้นต้นทางนี้ คือข้อกฎหมาย ความเป็นมาของรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทอะไรก็แล้วแต่  นั้นคือต้นทาง เป็นตัวกำหนด จากนั้นมาก็ไปสู่กลางทางคือผู้ประกอบการซึ่งเรามีทั้งของรัฐบ้าง ของเอกชนบ้างและก็มีทั้งการลงทุนร่วมกับรัฐ บางอันก็เป็นการลงทุนของเอกชน บางอันรัฐก็ร่วมกับเอกชนซึ่งมีปัญหามากมาย เพราะผิดเพี้ยนมาตลอด อยากจะพูดอย่างนั้นถ้าไม่พูดก็ไม่รู้กัน
เพราะฉะนั้น พอปลายทางมาก็คือประชาชนผู้บริโภค คราวนี้ถ้าทุกคนนำทั้ง 3 เรื่องมาพูดพร้อมกันมันไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นอยากให้ฟังอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ถ้าจะฟังได้ผมว่าจะจัดระเบียบอย่างนี้นะครับ มีเรื่องของต้นทางก่อน มาอย่างไรอะไรอย่างไร ความเป็นมาจบก่อน พอจบคำว่าต้นทาง ถามเฉพาะเรื่องต้นทางจะเอากันอย่างไร อันไหนตกลงกันได้ อันไหนเข้าใจ อันไหนไม่เข้าใจก็เก็บไว้ก่อน อย่าเพิ่งทะเลาะกัน ต้องมีทั้งเข้าใจไม่เข้าละครับ ผมยอมรับ พอมาถึงที่สองตรงกลาง เอาผู้ประกอบการ สงสัยตรงไหนเขาไม่โปร่งใสตรงไหนก็บันทึกกันไว้ เสร็จแล้วก็ไปตรงท้าย แล้วจะทำอย่างไรกันให้การบริการประชาชนจะเอาอย่างไร ราคาควรจะเป็นเท่าไร ทำไมถึงสูง ถึงต่ำ ก็พูดกันทีละตอน ๆ แบบนี้ พอพูดเรื่องแรกไปถามเรื่องที่สาม พูดเรื่องที่สองถามเรื่องที่สี่ อย่างนี้ไม่มีทางจบหรอกครับและก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย เป็นการปลุกระดมคนที่ฟังข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลัก ใครก็ไม่อยากมาจัด จัดแล้วก็เป็นปัญหาทำให้พระ เจ้าต้องเดือดร้อนไปด้วย ฝากไว้ด้วย ขอบพระคุณ ครับท่านที่กรุณาเป็นผู้ดำเนินรายการให้ ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งหรือความไม่เข้าใจนั้นไม่บานปลายออกไป ผมจะจัดให้บ่อย ๆ นะครับกลับไปเรียบเรียงกรุณาเรียบเรียงเถอะ วันนี้เรื่องพลังงาน คราวหน้าอาจจะเรื่องผลิตผลการเกษตร ต่อไปเรื่องน้ำ เรื่องอะไรก็แล้วแต่ เรื่องที่ดินทำกิน เปิดเวที ให้แล้วมาคุยกันว่า ตั้งหลักมาให้ถูก รัฐพูดก่อนและก็ประชาชนถามและก็ตอบ บันทึก ตรงกันไม่ตรงกัน จบไปอีกเรื่อง อีกเรื่อง ถ้าอย่างนี้ลักษณะการปฏิรูปต้องเป็นอย่างนี้ไม่ใช่คุยเรื่องหนึ่งถามเรื่องสาม ตีกันไม่จบและไม่สุภาพ ใช้คำพูดไม่สุภาพด้วยอะไรด้วยอย่างนี้ไม่ได้ เราเป็นคนไทยที่เจริญแล้ว ขอร้องอย่าไปชี้นำกันแบบนี้ รุนแรงพูดจาหยาบคาย โห่ฮาป่าอย่างนี้ผมว่าไม่เหมาะ ไม่ใช่การปฏิรูป อย่างนี้คือการทะเลาะเบาะแว้งกันต่อไป ผมก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก นั่นแหละครับเป็นปัญหาที่ต้องมีวันนี้ ถ้าปล่อยก็ทะเลาะกันแบบนี้อีก ไม่ได้ ท่านต้องหยุดของท่านให้ได้ก่อนอย่าเรียกร้องแต่จากเราอย่างเดียว เพราะฉะนั้นต้องดูการพัฒนาการของแต่ละอย่างด้วย ผมเข้าใจนะครับและกรุณามองกัน  แต่ละฝ่ายก็ฝ่ายหนึ่งต้องมองอีกฝ่ายให้เกียรติซึ่งกันและกัน เขาไม่ใช่จำเลยเราไม่ใช่โจทก์ ประชาชนก็ไม่ใช่จำเลยไม่ใช่โจทก์อีก ทุกคนคือคนไทยต้องพูดกันให้รู้เรื่อง
ในเรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สอะไรก็แล้วแต่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกในขณะนี้มีแนวโน้มลดลงถึงแม้จะมีสงครามอยู่บ้างก็ตาม ก็อาจจะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทางเรา คสช. ก็ได้พิจารณาว่าอาจจะมีความจำเป็นต้องมีการปรับราคาให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนน้ำมันและให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและไม่ต้องการจะบิดเบือนราคาตลาดต้องการให้ทุกคนได้เห็นว่า ถ้าทำอย่างนี้จะเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวท่านลองดูแล้วกันนะครับก็อย่าเพิ่งเรียกร้อง อย่าเพิ่งโวยวายกำลังดำเนินการอยู่แล้วเดี๋ยวจะเห็นว่าออกมาอย่างไร และที่เหลือต่อไปก็ไปว่ากันในเมื่อมีรัฐบาลเป็นระยะยาวหรือยั่งยืนหรืออะไรก็แล้วที่ท่านต้องการ แต่ต้องปรับให้ตรงกันก่อนเราจะแก้ไขปัญหาเร่งด่วนไปก่อน ให้เห็นว่าทำอย่างนี้อย่างที่ท่านต้องการแล้วมันจะเกิดอะไร ถ้าไม่ทำมันจะเป็นอย่างไรทุกอย่างต้องการให้ท่านเรียนรู้ครับ เพราะฉะนั้นอย่างเพิ่งทะเลาะกัน รับฟังข้อมูลให้ได้และตรวจสอบเป็นประเด็น ๆ ไป
ข้อมูลในโซเซียลมีเดียต้องระมัดระวัง มีทั้งถูกไม่ถูก มีทั้งคนละฝ่าย บางคนผมก็ไม่ทราบว่านำมาจากไหน บางอย่างก็จริงบางอย่างก็ดูฟังแล้วก็ฟังได้ แต่พอพูดนำมารวมกันแล้วไม่เข้าใจ แสดงว่าไม่เข้าใจขั้นตอน ผมไม่ได้หมายความว่าฝ่ายนี้ฝ่ายรัฐจะถูกทั้งหมดหรือผิดทั้งหมดท่านต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เราจะเร่งรัดในสภาปฏิรูปให้ดำเนินการ ช่วงนี้อยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนนำปัญหาที่มีอยู่มาตั้งไว้ และไปถามกันต่อ อันไหนที่ตกลงได้แล้ว หรือเข้าใจแล้วก็ไม่ต้องถามกันอีก เสียเวลา เวลามีน้อยอยู่แล้วด้วย
เรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาล วันนี้ก็ยังไม่จบอีกสักที่มีปัญหาทับซ้อนอยู่มากมาย เรียนไปหลายครั้งแล้วว่า คสช. ไม่ต้องการผลประโยชน์ ไม่ต้องการเอื้อประโยชน์ให้ใคร มันติดขัดข้อปัญหาบางประการ วันนี้เราพยายามใช้กฎ ใช้อำนาจ คสช. ถ้าใช้เรื่องนี้เข้าไปอีกทุกเรื่องไม่ได้ วันนี้ก็ที่ผ่านมาเห็นว่าช้าหน่อยเพราะต้องตั้งคณะกรรมการใหม่ ต้องตั้งผู้บริหารใหม่ ต้องเข้าที่ประชุมของเขา ผมพยายามอะไรที่มีผลประโยชน์ ผมต้องการให้ ให้เข้าในระบบให้มากที่สุด ใช้อำนาจไปแล้วผิดขึ้นมาก็เดือดร้อนอีก วันนี้ก็ค่อย ๆ แก้ไขไปทีละปัญหา วันนี้ก็เพิ่มโควต้าให้ ทำสีให้แยกแยะให้ชัดเจน ต้องมีคนเดือดร้อนแน่นอนเพราะเคยตัวกันมานานแล้ว อะไรก็ได้เรียกร้องกันไปตลอดเวลาแบบนี้ไม่ได้ เราต้องมีกติกากันบ้าง ท่านอดทนวันนี้เดี๋ยววันหน้าต้องดีแน่นอน แต่วันนี้ถ้าเรากำลังปรับแค่นี้ท่านบอกไม่ได้แล้ว ไม่จบ แล้วใครจะแก้ได้ ไม่มีใครแก้ได้หรอกนะครับ เพราะฉะนั้นก็ขอร้องกันร่วมมือกันทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ ผู้ให้เช่าสถานที่ขายสลาก มี 2 อย่าง อันหนึ่งขายได้  80 บาท อันหนึ่งจำเป็นต้องขายเกิน 80 อะไรแถว ๆ นี้ ผมไม่อยากระบุราคาเดี๋ยวก็เป็นเรื่องอีก เขามีกติกาออกมาแล้ว ท่านไปดูกันเอง
เรื่องราคายาง วันนี้เราพยายามแก้ไขปัญหามาตั้งแต่ต้น พร้อมกับผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ แต่เรื่องสำคัญเกี่ยวข้องหลายอย่าง วันนี้อยากให้มองในภาพใหญ่ด้วยไม่ใช่มองในพื้นที่อย่างเดียว ราคายางต้องเท่านี้ เท่านั้นเป็นไปได้ยากในจำนวนนั้น ท่านต้องไปลดต้นทุนของท่านให้ได้จะทำอย่างไร เมื่อลดต้นทุนได้ถึงจะสอดคล้องกับราคาภายในปัจจุบัน วันนี้การรับซื้อจากต่างประเทศราคาที่รับซื้อเนื่องจากปริมาณยางมีมากในหลายประเทศในโลกด้วย  การผลิตเพิ่มเติมในพื้นที่แถบลาตินอเมริกาบ้างอะไรบ้าง ทำให้มีตลาดและมีการแข่งขันมากขึ้น มีตัวเลือกมากขึ้นพูดง่าย ๆ  การรับซื้อของพ่อค้ายางในพื้นที่ของเราเองก็กดราคา ต่างประเทศก็รอเก็บสต๊อกไว้และเพื่อจะรอเมื่อไรที่ราคาตกต่ำ เราต้องแก้ปัญหาด้วยการลดต้นทุนการผลิต ลดพื้นที่การผลิต ให้ปริมาณยางลดลง เราผลิตได้มากที่สุดในโลกนะครับวันนี้ ขยายพื้นที่ไปสิบกว่าล้านไร่ ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเกินความจำเป็นและขายไม่ได้ เพราะฉะนั้นราคาตลาดขึ้นกับปริมาณยางที่มีอยู่ทั้งโลก ใครทำมากที่สุดผลิตมากที่สุด ทุกประเทศรู้อยู่แล้วเรามียางมากเดี๋ยวก็ต้องราคาตก เราก็ประท้วงกันเองอีกแล้วจะไปแก้กันตรงไหน เพราะฉะนั้นทำอย่างไรราคาไม่ตก หรือทำอย่างไรต้นทุนจะลดลง ผมว่าต้องไปดูกันตรงนั้นและหาทางว่าเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรอย่างยั่งยืนลดพื้นที่ไหม พื้นที่จะไปปลูกอะไร ทำอะไร กินแทน วันนี้ผมว่าเรื่องจ้างคนกรีดก็เหมือนกัน ก็มีคนไปรับจ้างกรีดคนนี้ก็ขึ้นราคา เดิม 50/50  อาจจะเป็น 60/40 ไม่อย่างนั้นไม่มีคนกรีด ก็มีทุกเรื่องเราก็รู้ปัญหาอยู่ เพราะฉะนั้น ช่วยกันคิดในภาพใหญ่และมาตัวเองบ้างเราจะได้แก้ปัญหาได้
วันนี้เรื่องการจำหน่ายยาง คณะกรรมการกำลังพิจารณาดูอยู่ ไม่ใช่ไม่ขายหรือขายอะไรทำนองนี้ เป็นเรื่องของ เราต้องดูตลาดโลก ดูตลาดในอาเซียนด้วยกันและเราต้องแสดงความร่วมมือกับต่างประเทศด้วยกับเพื่อนบ้านด้วย จะทำอย่างไรเพราะทุกประเทศมียางหมดมียางแข่งขันกันหมด ถ้าเราสามารถยกระดับราคาได้ทั้งหมดก็ดี ถ้าเขาตกลงกับเรา ถ้าเขาไม่ตกลงเขาแข่งกับเราต่อไป ราคาเราก็ตกไปอย่างนี้ ท่านต้องช่วยเราตรงนี้อย่างเพิ่งมาเดินขบวนอะไรกันเลยและเราต้องอุดหนุนราคาไปอีกและปีหน้าก็เอาอีกก็เป็นแบบนี้ทุกปีและอย่างอื่นก็ไปไม่ได้ ขยับไม่ได้หมด ประเทศชาติเดินหน้าไปไม่ได้ ไม่ได้โทษท่าน ปัญหานี้สะสมมาหลายปี แก้ภายใน 3 เดือนแก้ไม่ได้ ภายใน 1 ปียังแก้ไม่ได้เลยภาพรวมใหญ่ เพียงแต่จะแก้มีมาตรการเร่งด่วนมา เงินกู้ เงินดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ย อะไรต่าง ๆ เหล่านี้เราพยายามจะปล่อยมาตรการเหล่านี้ต่อไปเรื่อย ๆ เป็นระยะยาวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ท่านก็ต้องช่วยเราอย่าเร่งรัดรามากนักเลย ขอร้อง  ราคาผลิตผลการเกษตรมันยาก เราควบคุมไม่ได้ทั้งหมด เป็นเรื่องการแข่งขันเสรี ปริมาณความต้องการตลาดทั้งในประเทศนอกประเทศ พ่อค้าคนกลาง เกษตรกรก็ต้องช่วยกันและปรับตัวเองเข้าสถานการณ์ด้วย
เรื่องการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คสช. รัฐบาลต่อไปให้ความสำคัญ ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เรียนอีกครั้งหนึ่ง ได้ปรับการพูดคุยเปลี่ยนแปลงไปให้เป็นรูปแบบ เป็นมาตรฐานมากขึ้น คราวนี้ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาฯ สมช.) และคณะไปหารือเตรียมการในการจะเดินหน้าต่อไปให้เร็วที่สุด ผมเป็นห่วงพี่น้องประชาชนคนไทยพุทธและไทยมุสลิม ผมอยู่ในสถานการณ์มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง มีทั้งบางส่วนพัฒนาการดีขึ้น บางส่วนก็แย่ลงเพราะความไม่เข้าใจ
วันนี้ก็มีการตอบโต้กันในโซเซียลเน็ตเวิร์คมากมาย อันนี้ทำให้เกิดปัญหากับเรามาก ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เป็นทั้งฝ่ายเรา ฝ่ายเขา ทุกคนหวังดี ฝ่ายเขาก็คงไม่หวังดี แต่ทำให้เสี้ยมให้ทั้งสองฝ่ายนั้นตีกันมาโดยตลอดและก็สิ่งที่เขาทำวันนี้ไม่มี ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยสั่งลูกน้องหรือใครไปทำร้ายประชาชน ผมยืนยันถ้ามีก็นำหลักฐานมา ให้มันชัดเจนจะได้ลงโทษ
เรื่องปัญหาภาคใต้คงเป็นเรื่องของการใช้กฎหมายไม่เป็นธรรมที่เขาบอกมานะครับ เรื่องการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ วันนี้ผมก็ยังไม่ได้สั่งให้ใครไปทำอะไรแบบนั้น มีแต่เพียงบอกให้ใช้กฎหมายบางครั้งก็อาจจะพูดจาไม่เข้าหูกันบ้าง บางทีก็ถูกต่อว่าอะไรแถวนี้มันไม่ได้ ทุกคนมีหัวใจ เจ้าหน้าที่มีหัวใจที่จะดูแลท่านอยู่แล้ว ถ้าพูดไปพูดมาก็มีอารมณ์เหมือนกัน เจ้าหน้าที่ก็ต้องอดทน ทำให้เกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกันเราคงไม่คิดจะทำร้ายเด็ก ผู้หญิง ประชาชน ไม่ว่าจะไทยพุทธ ไทยมุสลิม ตำรวจ ทหารไม่ใช่คนใจร้ายพอที่จะไปฆ่า ไประเบิด ผู้บริสุทธิ์โดยตั้งใจ วันก่อนผมเห็นผู้นำศาสนาเข้ามาพูดในทำนองนี้ว่า เราใช้ความรุนแรง ผมก็อยากจะกราบท่านว่าเราไม่เคยมีจิตใจร้ายอย่างนั้นเลย ถ้ามีอย่างนั้นผมก็ปล่อยให้ท่านรบกันไป ทหารก็ไม่ต้องไปอยู่นะครับ ไม่ได้ วันนี้เป็นกติกาของโลกเขา ถ้าไม่สงบก็ต้องมีทหาร ถ้าท่านไม่ให้มีทหารท่านก็สงบสิครับ ทหารก็ได้กลับบ้าน ถ้าสงบไม่ฆ่ากัน ไม่ระเบิดกัน ไม่มีความวุ่นวาย เราก็พัฒนาได้แล้วจะมีทหารไปทำไม ไม่มีใครอยากจะลงมาอยู่ อยู่แล้ว ถ้าไม่หวังว่าเพียงดูแลประชาชนที่บริสุทธิ์ ก็ขอให้ใคร่ครวญให้ดี การบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทำได้ยากในภาคใต้ บางคนบอกทำไมเก็บหลักฐานไม่ได้เลยก็พื้นที่ที่มีกองกำลัง มีฝ่ายสนับสนุนอยู่ในพื้นที่มากพอสมควร เราใช้เวลาเหมือนปกติก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักฐานบางอย่างก็อ่อน บางอย่างก็เก็บไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลา ใช้เทคโนโลยีบ้าง ใช้เครื่องไม้เครื่องมือ สารเคมีมันใช้เวลาหมด สถานการณ์เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปก็มีเวลาไม่มากนัก ต้องเก็บรวบรวมให้เร็วที่สุด บางครั้งก็พลาด พลาดตรงไหนมันไม่สมบูรณ์ ทำให้คนเหล่านี้ก็หลุดออกไปเหมือนกัน แทนที่หลุดไปแล้วจะดีใจว่าเราไม่ได้ไปไล่ล่า กลายเป็นว่าจับคนผิดคนถูก บางคนถูกทั้งนั้นแต่หลักฐานดำเนินคดีไม่ได้หรือไม่ก็เรื่องการใช้กฎหมายปกติ การสอบสวนต่าง ๆ การพิจารณาคดีปกติหมด ล่าช้าเสียเวลาและคั่งกันเป็นจำนวนมาก อาจจะต้องใช้การพิจารณาความพิเศษ การสนับสนุนพิเศษ มีคณะลงไปเพิ่ม มีศาลเพิ่ม ศาลทหารใช้ได้หรือไม่ เราให้ความเป็นธรรม ศาลทหารก็เหมือนศาลปกติ เพียงแต่รวดเร็วขึ้นเพราะเรามีความพร้อมอยู่มากกว่า
ในปัจจุบันได้รองรับการรองรับสถานการณ์ เราสามารถจะรวมได้อะไรได้ในทำนองนี้ แต่ยืนยันว่าไม่ต้องการใช้กฎหมายจริง ๆ แล้วไม่ต้องการใช้ ถ้าท่านเลิกใช้ความรุนแรงเราก็ใช้กฎหมายปกติ ต้องรีบดำเนินการให้ได้โดยเร็ว การพูดคุยต้องไปคุยกันมาในทุกมิติทุกกลุ่มด้วย ไม่ใช่คุยกลุ่มนี้อีกกลุ่มหนึ่งไม่เลิกอย่างนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาปัจจุบันมียุทธศาสตร์ชัดเจน ดำเนินการต่อเนื่องจะเปลี่ยนใคร การเปลี่ยนผู้น้อย เปลี่ยนผู้พัน ผู้การ เปลี่ยน ผบ.พลแม่ทัพไม่มีผล เพราะการทำงานของกองทัพหรือตำรวจเขาทำงานโดยนโยบายหรือแผนงานโครงการทั้งสิ้น ไม่ใช่เปลี่ยนคน  2 ปีก็เปลี่ยนทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ใช่ เขาทำงานด้วยระบบ อย่างกองทัพบกผู้บัญชาการทหารบกมามี 36 คนแล้วผมเป็นคนที่ 37 ผมก็ทำตามที่ 36 ทำมา 35 ทำมา อันนี้เป็นหลัก ต่อมาผมก็พัฒนาในส่วนของ 37 ทำ ก็เป็นอย่างนี้ทุกที่ ระดับแม่ทัพภาค 4 ก็เหมือนกัน เหมือนกันทุกอย่าง
การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ทุกคนก็เป็นกังวลช่วงนี้ก็ผ่านจาก คสช. มา เบาลง กลับมาเรื่องคณะรัฐมนตรีเอาอีกแล้ว มีปัญหา มีทหารมาก ทหารน้อย ผมว่าไม่ใช่ปัญหาดูว่าปัญหาเกิดที่ไหนแล้วเราจะแก้อะไร วันนี้เราต้องการให้มีประชาธิปไตย และตรารัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะฉะนั้นผมว่าอย่ามาดูตรงนี้ทหารมาก ทหารน้อย ผมใคร่ครวญดูกันแล้วถ้าไม่มีทหารเลยก็ไม่ได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าความมั่นคงก็มีปัญหา ความสงบเรียบร้อยก็มีปัญหา บางคนบอกว่า เดี๋ยวต้องเอารุ่นพี่ไม่มี รุ่นน้องไม่มี แล้วถ้าผมไม่มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนที่ไว้ใจเข้ามาทำงานก็ไม่ได้อีก ผมพยายามที่จะเกลี่ยสัดส่วนต่าง ๆ ให้ดีอย่าระแวงกันจนเกินไปนักและเถียงกันไปจนหาคนดีไม่ได้เลยในวันนี้ผมไม่เข้าใจ ไม่จริงทุกอย่างผมเป็นคนตัดสินใจทั้งสิ้นใครจะว่า ใครจะเสนอ ใครจะพูดกับใคร เดี๋ยวดูกันต่อไป ถ้าเขาทำงานไม่ดีก็ปรับใหม่ได้หมด รัฐบาลปรับได้ไม่รู้กี่ครั้ง  ใครไม่ดีก็ออกไป ใครทำทุจริตก็ติดคุกไปก็มีแค่นั้นจะกลัวอะไร ใช้กระบวนการประชาธิปไตยให้ถูกต้อง ไม่ใช่ไปไล่ล่าฆ่าฟัน วันนี้ผมไม่ใช่พรรคไหนเลย เป็นพรรคของคนไทยเดินหน้าประทศไทย เพราะฉะนั้นไม่มีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ไม่มี ผมต้องการให้ทุกคนมองชาติเป็นหลัก อย่าสนใจตัวบุคคลให้มากนัก เพราะฉะนั้นเราคงไม่ปล่อยให้ใครมาขัดขวางการทำหน้าที่มีแต่อยากให้มาสนับสนุนเราให้มากขึ้น ทุกคนมาแสดงความคิดเห็น ผมรับฟังความคิดเห็นทุกคนที่ทำงานวันนี้ได้ผมฟังทุกคนมา บางครั้งก็ปวดหัวเหลือเกินเพราะข้อเสนอมาก เป็นร้อยเป็นพันเรื่องผมก็รับทุกเรื่อง นำมาใคร่ครวญ นำมาไตร่ตรอง นำมาสั่งการ นำมาไปหารือ ที่ปรึกษามีไม่รู้กี่คณะไม่ใช่คณะเดียว มีทั้งในระบบ นอกระบบ Out Source ต่าง ๆ มากมายไปหมดนักวิชาการมีมากมาย ผมก็ต้องดูทั้งหมดแล้ว มาย่อยให้ตรงกัน แล้วอะไรทำ ได้ก็ทำนั่นคือการทำงานของผม วันหน้าก็ต้องเป็นแบบนี้ไม่ต้องไปกังวลกระทรวงนั้นกระทรวงนี้ เพราะทั้งหมดต้องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)  อยู่แล้ว และนายกรัฐมนตรีเป็นคนอนุมัติหลักการจะนำเข้าหรือไม่ ถ้าไม่ดีก็ยังไม่นำเข้า ใครจะยัดไส้อะไรมาก็แล้วแต่ ผมต้องใช้การตรวจสอบที่ดี ผมต้องวางแผนตรงนี้ไว้แล้ว ผมคงไม่ให้มีการอนุมัติโดยการที่เรียกว่ายัดไส้อะไรทำนองนี้ ไม่ได้หรอก ผมไม่ยอมอยู่แล้ว ตัวผมเองตั้งมั่นว่าเราไม่ทุจริต แต่ใครก็ทุจริตไม่ได้ แต่สำคัญเราจะรู้ได้อย่างไร นั่นไปหาทางช่วยผมโน้น
การที่วันนี้เกิดปัญหาอะไรก็ตาม ข้าราชการ บางพวกบางฝ่าย ผลประโยชน์สมยอม ประชาชนก็ไม่ปฏิเสธ เพราะฉะนั้นคงต้องสร้างทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังเด็กตั้งแต่ประถมขึ้นไป ให้เกลียดชังการทุจริต ไม่สมยอม  เอื้อประโยชน์ อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ต้องเริ่มให้หมด เริ่มปลูกฝั่งตั้งแต่วันนี้ ก็ต้องหลายชั่วคนเหมือนกันถึงจะแก้เรื่องนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องของการเพาะบ่มมาตั้งแต่เด็ก
สรุปแล้ว ประเทศไทยดูจะมีปัญหาไปมากมายเหมือนกัน ทุกเรื่องผมพูดมา 11 ครั้งไปแล้วครั้งที่ 12 ก็ยังพูดเรื่องปัญหาอีก เพราะผมรู้ว่านี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเดินหน้าไปข้างหน้าไม่ได้ ณ ท่ามกลางความขัดแย้ง ท่ามกลางความปัจจัยจากภายใน ภายนอก เพราะฉะนั้นประเด็นหลักคือความเข้าใจในนโยบายของรัฐ การบริการของหน่วยงาน แผนงานด้านเศรษฐกิจต้องชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกษตรกรรมแก้ปลายเหตุมาตลอด ต้องกลับไปแก้กลางเหตุและต้นเหตุ ผมใช้คำง่าย ๆ และสาเหตุถ้าเราแก้ปลายเหตุอย่างเดิมก็แก้เหมือนเดิม ปัญหาก็กลับมาทับใหม่ ปัญหาใหม่ก็เกิด ปัญหาเก่าก็ทับซ้อนอยู่มันจะไปแก้อะไร ต้องสร้างระบบ ใช้เวลา ถ้าเดือดร้อนก็เดือดร้อนทุกอย่าง ทุกอย่างเดือดร้อนไปหมดถ้าไม่ช่วยกัน
ผมฝากความหวัง อนาคตของประเทศชาติอย่างยั่งยืน กับ สปช. และคณะที่ทำการร่างรัฐธรรมนูญว่าต้องช่วยกันทำวางรากฐานบ้านเมืองในอนาคต ในทุกประเด็นที่เราเป็นปัญหาอยู่ ทั้งลดความขัดแย้ง ทั้งการพัฒนาประเทศชาติ สร้างความเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำ เหล่านี้ อะไรที่อยู่ในสภาปฏิรูปก็ถกแถลงกันไป ตั้งหัวข้อให้ดี เรียงลำดับให้ได้ อะไรจะทำก่อนทำหลัง และที่เหลือก็เสนอเข้ามาตามลำดับ ตามห้วงเวลา ที่มีอยู่ ระหว่างนี้เราจะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมอย่างเต็มที่ พยายามลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยที่สุด ขอบคุณนะครับ  รบกวนเวลามาพอสมควร
ขอบคุณและสวัสดีครับ   ขอบคุณครับ

2014年8月26日 星期二

พิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งฯ



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 29 ของประเทศไทย โดย นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นต่อประชาชนว่าจะมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน นำความสุข ความร่มเย็นมาสู่พี่น้องประชาชน และทำให้ประเทศชาติมีความเป็นปึกแผ่นมีความมั่นคงตลอดไป
วันนี้ (25ส.ค.57)  เวลา 10.49 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงกองบัญชาการกองทัพบก ซึ่งได้มีการจัดเตรียมสถานที่ในการรับสนองพระบรมราชโองการฯ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคู่สมรส รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รักษาราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงต่าง ๆ           นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  รออยู่ ณ บริเวณห้องพิธี
จากนั้น นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้อ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ความว่า
พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระปรมาภิไธยภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า
โดยที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  2557 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  จึงทรงพระราชดำริว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี  บริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เสร็จแล้ว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถวายคำนับพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ เปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วถวายบังคม และถวายคำนับพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ เป็นเสร็จพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
โอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและกล่าวขอบคุณว่า ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และนับเป็นเกียรติอันสูงสุดในชีวิตแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ตระหนักดีถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่ง ต่อจากนี้ต่อไป ต้องรับผิดชอบในการนำพาประเทศชาติและประชาชน เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า ซึ่งได้มีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ได้แก่ การคัดเลือกรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เพื่อบริหารราชการแผ่นดินโดยเร็วที่สุด โดยจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ภายในเดือนกันยายน 2557
การบริหารประเทศในทุก ๆ ด้าน ในบทบาทของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนงานเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา โดยรัฐบาล และ คสช.  ต้องมีการหารือในการปฏิบัติ  ตลอดจนวิธีการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องระมัดระวังการก้าวล่วงซึ่งกันและกัน แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลกัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขอให้ทุกคนอย่าได้กังวลกับตัวบุคคลมากนัก
วันนี้เราจะต้องสร้างระบบทุกระบบให้เข้มแข็ง เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ในระบบข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ต้องเข้มแข็งพัฒนาปรับปรุงตนเองในทุกมิติ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการและรองรับการปฏิรูปที่จะต้องทำให้ฝ่ายการเมืองมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศในระยะต่อไป และจะได้ร่วมกันนำพาประเทศชาติไปสู่อนาคต อย่างไรก็ตามประชาชนเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินในขณะนี้ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ ทั้งในงานด้านความมั่นคง  เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีปัญหาสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งภาคเกษตรกร รัฐ ประชาชนโดยทั่วไป ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน บ้านเมืองเรามีปัญหาสะสมสำคัญ ๆ มากมายมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ด้วย
ด้านความมั่นคง ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ อาทิ  ปัญหาชายแดน ทั้งในเรื่องการปักปันเขตแดน การหลบหนี   เข้าเมือง สินค้าหนีภาษี ปัญหาความมั่นคงภายใน ในเรื่องยาเสพติด อาชญากรรม อาวุธสงคราม การพนัน แรงงานต่างด้าว และอื่น ๆ
ด้านเศรษฐกิจ การเดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมการลงทุนในภาคต่าง ๆ การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และประชาชนผู้มีรายได้น้อย โครงสร้างภาษี พลังงาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัญหาปากท้องประชาชน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้  ซึ่งพวกเราจะพยายามแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็ว  แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อไปในอนาคต
ด้านสังคมและวัฒนธรรม ระบบการศึกษา การปลูกจิตสำนึก การปลูกฝังอุดมการณ์ การดำรงซึ่งวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  การป้องกันการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังค่านิยม ต่าง ๆ เหล่านั้น และอุดมการณ์ให้กับคนในชาตินั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้การแก้ปัญหานั้นเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ       ในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับพันธะสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมายที่ส่วนราชการต้องแก้ไข เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมานั้น ยังดำเนินการไม่เรียบร้อย
สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น รัฐบาล คสช. และประชาชนทุกคน ต้องมาร่วมกันแก้ปัญหา  ซึ่งเราไม่ปิดกั้นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือต้องการกำจัดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าในสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปฯ  ไม่ได้มีข้อกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ เหมือนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกประการ และต้องยึดหลักการหลายอย่างในการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องการให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน       ทั้งกลุ่มการเมือง กลุ่มพลังประชาชน นักเศรษฐกิจ นักวิชาการ ข้าราชการ สื่อมวลชน และผู้แทนส่วนต่าง ๆ  ทั้งนี้ไม่ต้องการให้ส่วนหนึ่งส่วนใดตกขบวนประชาธิปไตย เพื่อสร้างอนาคตของชาติให้มั่นคงและยั่งยืน ไม่ให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวให้คำมั่นต่อประชาชนว่า จะมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน นำความสุข ความร่มเย็นมาสู่พี่น้องประชาชน และทำให้ประเทศชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงพร้อมไปกับการสร้างความรักสามัคคีในทุกกลุ่มทุกฝ่าย พร้อมขอบคุณสำหรับความร่วมมือที่ทุกคนในชาติจะมอบให้กับรัฐบาล และ คสช. ในการปฏิบัติงานในห้วงต่อไป







2014年8月2日 星期六

長沙市 -- เมืองฉางชา

湖南鳳凰古城 -- มณฑลหูหนาน เมืองโบราณฟ่งหวง

張家界 寶峰湖 -- จางเจียเจี้ย ทะเลสาบ เป่าฟ่งหู

張家界 黃龍洞 -- จางเจียเจี้ย ถ้ำพญามังกร หวงหลงต้ง

張家界,武陵源 ,天子山 -- จางเจียเจี้ย, ภูเขาเทียนจื่อซาน

張家界,武陵源 ,國家森林公園黃石寨 -- จางเจียเจี้ย, จางเจียเจี้ยป่าสงวนแห่งชาติ , สวนนาย...








2014年7月19日 星期六

泰國前總理穎拉對國家肅貪委員會指控的回應 ยิ่งลักษณ์ชี้ ปปช. รวบรัดคดี 18 7 2557



"ปู" ยันไม่หนีปปช.แน่ ถาม 7 ข้องัดคดีมาร์คเทียบ - มาตรฐานเดียวกันไหม? 

เปิดแถลงเสียงเครือ "ยิ่งลักษณ์"สวนกลับป.ป.ช.ชี้มูลอาญาคดีจำนำข้าว ระบุทำอย่างรวบรัด เร่งรีบ แจ้งข้อกล่าวหา และชี้มูลผิดกับคดีรับประกันราคาข้าว ปรส. ประมูลสร้างโรงพัก แถมเลือกฟังแต่พยานซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับผู้ร้อง ตัดสิทธิในการเสนอพยานอื่น รวมถึงไม่รอการตรวจสอบสต๊อกข้าวให้ถึงที่สุด ยันไม่ทิ้งประชาชนกลับมาเมืองไทยแน่ ด้านอัยการสูงสุดเตรียมตั้งคณะทำงานพิจารณาสำนวน ยันพร้อมให้ความเป็นธรรม ไม่ยื่นศาลคัดค้านปูเดินทางไปต่างประเทศ ด้าน "บิ๊กตู่" ออกทีวี วอนมิตรประเทศให้กำลังใจไทยวางเสาหลักประชา ธิปไตย ยันไม่ยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค แจงตั้งปลัดกลาโหมร่วมเป็นก.ต.ช.เพื่อความโปร่งใส

"ปู"แถลง-ระบุปปช.เร่งรีบรวบรัด

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 18 ก.ค. ที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ พร้อมทีมทนายความ ประกอบด้วย นายพิชิต ชื่นบาน นายสมหมาย กู้ทรัพย์ และนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ร่วมแถลงภายหลังป.ป.ช.มีมติส่งความเห็นให้อัยการสูงสุด ฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวจนทำให้เกิดความเสียหาย 

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า 1.กระบวนการยุติธรรมเป็นไปตามหลักนิติ ธรรมสากลหรือไม่ เพราะมองว่าเป็นการพิจารณาที่เร่งรีบ รวบรัด แจ้งข้อกล่าวหาใช้เวลาแค่ 21 วัน จากนั้นก็ชี้มูลความผิดอาญาต่อตนภายใน 140 วัน ซึ่งป.ป.ช.ไม่เคยปฏิบัติกับคดีอื่นๆ ที่ดำเนินการกับนักการเมืองเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อตน เมื่อเทียบเคียงกับการดำเนินคดีโครงการประกันราคาข้าว ที่ป.ป.ช.ใช้เวลาดำเนินการนานไม่น้อยกว่า 4 ปี คดี ปรส.ที่ล่าช้าและโครงการทุจริตโรงพักทั่วประเทศ ป.ป.ช.กลับไม่มีความคืบหน้า ถือว่ามิได้มีบรรทัดฐานอย่างเดียวกัน

ชี้เลือกฟังแต่พยานที่เป็นปฏิปักษ์

2.ในการปฏิบัติของป.ป.ช.เมื่อเทียบกับคดีอื่นๆ เห็นว่าคดีนี้มีพฤติการณ์รวบรัดเป็น กรณีพิเศษ คือเลือกรับฟังพยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน ตัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในการเสนอพยานบุคคลที่เป็นสาระสำคัญ ไม่รอผลการพิสูจน์เรื่องสต๊อกข้าวให้เป็นที่สิ้นสุด เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องสต๊อกข้าว ทั้งที่ส่งเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ไปร่วมสังเกตการณ์แล้ว ไม่ไต่สวนในข้อเท็จจริงกรณีการลงบันทึกบัญชีที่ยังมีข้อขัดแย้ง และแตกต่างกันของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี และคณะกรรมการ กขช.ให้เป็นที่สิ้นสุด รวมทั้งกรณีไม่พิจารณาการที่ตนคัดค้านนายวิชา มหาคุณ รวม 3 ครั้ง 

3.นโยบายรับจำนำข้าวเป็นนโยบายระดับประเทศ นายกฯ ในฐานะฝ่ายบริหารเป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น ส่วนระดับปฏิบัติการเป็นการทำงานของหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน มีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน แต่ในข้อกล่าวหาของป.ป.ช. กลับฟังความข้างเดียว ขณะที่ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเห็นไม่ตรงกันในข้อเท็จจริง

ปฏิเสธพยานที่เสนอไต่สวนเพิ่ม

4.การแถลงข่าวของป.ป.ช.ที่ผ่านมา ยืนยันว่าคดีระบายข้าวไม่เกี่ยวข้องกับตน ทำให้ไม่หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาต่อสู้และหักล้าง แต่ในข้อวินิจฉัยชี้มูลกลับนำข้อเท็จจริงในคดีระบายข้าวมาชี้มูลความผิดกับตนด้วย

5.ที่ผ่านมาตนพยายามชี้แจงและร้องขอ ให้ป.ป.ช.ไต่สวนและสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและเป็นธรรม แต่ป.ป.ช.ปฏิเสธมาตลอด ทั้งที่ข้อเท็จจริงอีกหลายเรื่อง เช่น ข้าวเสื่อมสภาพและข้าวหาย หน่วยงานที่ควบคุมดูแลสต๊อกข้าว ทั้งอคส. และอ.ต.ก.ได้ทำสัญญาต่างๆ กับเจ้าของคลังสินค้าและบริษัทประกัน รับผิดชอบค่าเสียหายหากเกิดกรณีข้าวสูญหายและการเสื่อมสภาพข้าวที่ผิดปกติธรรมชาติ ดังนั้นการอ้างเรื่องรัฐมีความเสียหายจากข้าวหายและข้าวเสื่อมคุณภาพ จึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมต่อตนในฐานะผู้ถูกกล่าวหา

6.ขอตั้งข้อสังเกตว่าการกล่าวหาและการไต่สวนของป.ป.ช.ได้นำพยานหลักฐานและไต่สวนพยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน และเลือกรับฟังพยานหลักฐานหรือไม่ ขณะที่ตนพยายามเสนอพยานหลักฐานต่างๆ แต่ป.ป.ช. กลับละเลยและปฏิเสธที่จะไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง 

เสียงเครือไม่ทิ้งไทย-กลับมาแน่

7.ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าตนจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหนีคดีต่างๆ นั้น ยืนยันว่าการเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางส่วนตัว และมีกำหนดการไปกลับที่ชัดเจนและมีการเตรียมการล่วงหน้าแล้วก่อนที่ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดอย่างเร่งด่วน

"วันนี้ดิฉันเป็นราษฎรเต็มขั้นแล้ว ควรมีสิทธิเสรีภาพเยี่ยงประชาชนคนไทยทั่วไป ขอยืนยันว่าจะไม่ทิ้งประชาชนคนไทย และพร้อม กลับมาประเทศไทยแน่นอน" น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการแถลงข่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ เมื่อแถลงเสร็จได้เดินออกจากห้องแถลงข่าวทันที โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์

ด้านนายพิชิตกล่าวก่อนการแถลงข่าวว่า หลังป.ป.ช.มีมติทีมทนายความได้ประชุมตั้ง แต่เมื่อคืนวันที่ 16 ก.ค. โดยเห็นว่ามติของป.ป.ช.เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกะทันหัน ไม่มีใครคาดการณ์ล่วงหน้า ทีมทนายจะต้องขอความเป็นธรรมเนื่องจากกระบวนการที่ผ่านมา เกิดข้อสงสัยและข้อโต้แย้งเรื่องความเป็นธรรมใน การพิจารณามาตลอด ส่วนที่ประจวบเหมาะ กับการเดินทางไปพักผ่อนในยุโรปของอดีต นายกฯ นั้น ยืนยันว่าอดีตนายกฯ ไม่ได้คิดหนีอย่างแน่นอน การไปยุโรปเป็นสิ่งที่เตรียมตัวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนมติป.ป.ช. เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น การไปยุโรปจึงไม่เกี่ยวกับที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูล อดีตนายกฯ มั่นใจความบริสุทธิ์ เราหวังว่าขั้นตอนของอัยการและศาลจะได้รับความเป็นธรรม

เตรียมยื่นขอความเป็นธรรม

นายพิชิตกล่าวอีกว่า ทีมทนายเห็นว่ายังมีเวลาที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ควรจะได้รับความเป็นธรรมจากอัยการในการตรวจสอบเอกสารและข้อมูลก่อนส่งฟ้องศาล ทีมทนายจะไปขอความเป็นธรรมกับอัยการสูงสุด เพราะที่ผ่านมีข้อโต้แย้งถกเถียงเรื่องพยานหลักฐานในการสอบสวนมาตลอด จนถึงการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นกรณีพิเศษแล้วแจ้งข้อกล่าวหาภายใน 21 วัน ล่าสุด ป.ป.ช.ยังยกเรื่องการระบายข้าวมาเป็นประเด็นใหม่ที่ป.ป.ช.ไม่ได้แจ้งไว้ และไม่เคยเปิดโอกาสให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ชี้แจงมาก่อน

"หวังว่าป.ป.ช.จะตรวจสำนวนให้เรียบร้อย ไม่ควรเร่งรีบยื่นสำนวนเพื่อสกัดกั้นการ เดินทางของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งนี้ มีเวลา 14 วัน ป.ป.ช.จะต้องส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณา ถ้านับถึงสิ้นเดือนก.ค. ผมว่าควรให้เป็นไปตามปกติ อดีตนายกฯ ก็เป็นแค่ราษฎรคนหนึ่ง ขอให้ปฏิบัติตามกระบวนการปกติเถอะ" นายพิชิตกล่าว

เผยถูกให้ร้ายโดยไม่เป็นธรรม

นายพิชิตกล่าวว่า การแถลงครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง เป็นเพียงการแถลงชี้แจงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น คาดว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะไม่ฟ้อง ป.ป.ช.กลับ เพราะไม่ใช่คนเจ้าคิดเจ้าแค้น

ด้านนายสมหมายกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหา ถูกให้ร้ายโดยไม่เป็นธรรม ขณะที่ประกาศคสช.ฉบับที่ 63 เรื่องนโยบายเกี่ยวกับการยุติธรรมของรัฐ ให้มีบรรทัดฐานที่ชัดเจนในการดำเนินคดีตามประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ซึ่งประกาศดังกล่าวเพื่อให้องค์กรในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งป.ป.ช.บังคับใช้กฎหมาย โดยต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่เลือกปฏิบัตินั้น ถือว่าได้รับการปฏิบัติและสนองตอบอย่างดีแล้วหรือไม่

"บิ๊กจิน"เผยธรรมนูญฯเสร็จแล้ว

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. และรองหัวหน้าคสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่า ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อวันที่ 14-15 ก.ค. ขณะนี้อยู่ในกระบวนการที่ผู้รับผิดชอบกำลังดำเนินการ ซึ่งในรายละเอียดยังไม่ได้แจ้งให้ทราบ ส่วนจะทูลเกล้าฯ เมื่อใดนั้น หัวหน้า คสช.ไม่ได้แจ้งให้ทราบเช่นกัน

เมื่อถามถึงการต่ออายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ทอ.ซึ่งจะเกษียณในวันที่ 30 ก.ย.นี้ พล.อ.อ. ประจินกล่าวว่า ตอนนี้มีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.นี้ และวันที่ 1 ต.ค.จะเป็นนายทหารนอกราชการแล้ว ซึ่งไม่น่าจะมีการต่ออายุราชการ ส่วนคนที่จะรับตำแหน่ง ผบ.ทอ.คนใหม่นั้น ต้องมีความพร้อมในการทำงาน รับภาระทุกเรื่องของกองทัพอากาศได้อย่างสมภาคภูมิและคำนึงถึงความอาวุโส ยืนยันว่าแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว คสช.จะยังทำงานควบคู่กันไป พร้อมดูแลในภาพรวมของกองทัพด้วย

ไม่แน่ใจให้ปูไปยุโรปได้หรือไม่

พล.อ.อ.ประจินกล่าวถึง คสช.อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปต่างประเทศ หลังจากป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดในโครงการรับจำนำข้าวว่า ตามเจตนารมณ์ของ คสช.จะไม่เข้า ไปแทรกแซงเรื่องกระบวนการทางศาล ส่วนที่ฝ่ายการเมืองจะขอเดินทางไปพบ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นั้น คสช.ก็ไม่แทรกแซงเช่นกัน แต่เราได้ติดตามสถานการณ์ ขอให้ทุกอย่างเดินไปตามกรอบที่เราอยากให้เกิดความสามัคคี

เมื่อถามว่า คสช.ยังยืนยันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ไม่แน่ใจ ขอตรวจสอบข้อมูลก่อน ตนทราบข่าวจากการให้สัมภาษณ์ของพ.อ. วินธัย สุวารี ทีมโฆษกคสช. และได้ระบุข้อแม้ต่างๆ เมื่อถามว่าจำเป็นต้องประสาน ป.ป.ช. หรืออัยการสูงสูดหรือไม่ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ตรงนี้ คสช.ไม่แทรกแซง แต่ถ้าศาลมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็ต้องดำเนินการตามนั้น ซึ่งเราไม่รู้ว่าอัยการสูงสุดจะสั่งการไว้อย่างไร เมื่อถามว่าขณะนี้ คสช.ยังอนุญาตให้ไปต่างประเทศ แต่หากศาลสั่งห้ามก็เป็นอีกเรื่องใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า คสช.แยกทำงานกัน และตนไม่ได้อยู่ในส่วนของฝ่ายกฎหมาย จึงไม่แน่ใจ

คงแวต7%ต่ออีกปี-คสช.ตั้งใจดี

ผู้สื่อข่าวถามถึง คสช.มีคำสั่งชะลอการ จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม รองหัวหน้าคสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้านี้ให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ และมีข้อยกเว้นให้เหลือ 7 เปอร์เซ็นต์มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะครบวาระวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทาง คสช.เห็นถึงความจำเป็นที่จะบรรเทาความ เดือดร้อน จึงปรับลดลงมาในช่วง 1 ปีแรก ยืนยันการเก็บภาษียังคงเท่าเดิม จากนั้นจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติเดิมในเดือน ต.ค. 2558 ซึ่งถือเป็นความตั้งใจดีของ คสช.

วันเดียวกัน นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตส.ส.กทม.และทีมเศรษฐกิจพรรคประชา ธิปัตย์ แถลงถึงคสช.ประกาศคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ออกไปอีก 1 ปีว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทุกรัฐบาลพยายามทำมาตั้งแต่ปี 2542 ดังนั้น เมื่อจะปรับปรุงมาตรการทางภาษี จึงอยากเสนอให้คสช.ปฏิรูปเรื่องการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เพราะถือเป็นแหล่งที่มีนักการเมืองเกี่ยวข้องมาก มีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับการยก เว้นภาษีส่วนบุคคลถึง 243 ประเภทโครงการที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งคาดการณ์ปี 2557 จะเกิดความสูญเสียจากการให้สิทธิบีโอไอ 310,000 ล้านบาท ปี 2558 มีโอกาสสูญเสีย 340,000 ล้านบาท เมื่อเทียบแล้วมีมูลค่าสูงกว่าภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ปีละ 300,000 ล้านบาท เห็นว่าคสช.ควรพิจารณาเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับบีโอไออย่างเร่งด่วน โดยบริษัทที่จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน ควรเป็นบริษัทที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีขนาดสูงให้ประเทศ 

"บิ๊กตู่"สั่งเด้งอีกเลขาธิการกกพ.

เมื่อเวลา 11.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. เซ็น คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 95/2557 เรื่องการให้เลขา ธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อให้การกำกับกิจการพลังงานของประเทศต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คสช.จึงมีประกาศ ดังนี้ 1.ให้นายกวิน ทังสุพานิช พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 2.ให้กรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง 3.บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาตามพ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 มิให้นำมาใช้บังคับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามประกาศนี้

4.ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประกอบด้วยกรรมการ 7 คน ได้แก่ นาย ไกรสีห์ กรรณสูต นางดวงมณี โกมารทัต นางปัจฉิมา ธนสันติ นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ น.ส.วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ และนายวีระพล จิระประดิษฐกุล โดยให้กรรมการประชุมร่วมกันเพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ 5.ให้เป็นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 6.ให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป 7.เมื่อตั้งครม.แล้วให้นายกฯ นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

วิชาหวังอัยการสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์

ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์เห็นว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์กระทำ การที่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจากโครงการรับจำนำข้าวว่า ขณะนี้ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งสำนวนต่ออัยการ เนื่องจากเป็นสำนวนที่ใหญ่มาก แถลงแล้วจะส่งไปทันทีคงเป็นไปไม่ได้ คาดว่าจะส่งสำนวนภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งการทำงานจะเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่ก้าวก่ายกัน

นายวิชากล่าวว่า ส่วนการออกนอกประเทศ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจยับยั้ง เป็นไปตามที่คสช.มีคำสั่งออกมาว่าองค์กรใดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมหรือศาลก็ ทำหน้าที่ไป คสช.ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซง แต่หากมีกฎหมายใดเพิ่มเติมเราก็เสนอคสช. เช่นเดียวกับที่เสนอต่อรัฐบาล 

"การส่งสำนวนหรือไม่ส่ง ไม่เกี่ยวกับการเดินทางของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งป.ป.ช.หวังว่าทุกอย่างจะราบรื่น เราต้องการให้อัยการฟ้อง เราไม่อยากฟ้องเอง เนื่องจากงานของป.ป.ช.ก็มีมากอยู่แล้ว" นายวิชาระบุ

อสส.สั่งคณะทำงานพิจารณาคดี

ด้านนายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด (อสส.) กล่าวถึงป.ป.ช.เตรียมส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณายื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสัปดาห์หน้าว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญ ตนจึงเตรียมตั้งคณะทำงานอัยการขึ้นพิจารณา โดยมีรองอัยการสูงสุด 1 คน ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าเป็นคนใด ขอดูสำนวนและความเหมาะสมก่อน พร้อมอัยการอาวุโสและคณะทำงานจำนวนหนึ่งพิจารณาตามข้อเท็จจริง และหลักกฎหมาย ยึดหลักความเป็นธรรม รอบคอบและตอบคำถามต่อสังคมได้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ตนแจ้งให้พนักงานอัยการทั่วประเทศปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ตนไม่รู้สึกหนักใจ แม้จะเป็นคดีเกี่ยวกับการเมือง เพราะอัยการจะพิจารณาตามพยานหลักฐานและให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย เพื่อผลประโยชน์ของชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนการยื่นฟ้องคดีนั้น ป.ป.ช. จะส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติ โดยส่งแต่สำนวนสอบ สวนเท่านั้น ไม่ต้องส่งตัวผู้ถูกกล่าวหา จากนั้น อสส.ฟ้องคดี 30 วันนับแต่รับเรื่อง ส่วนการยื่นฟ้องคดีนั้นจะยื่นฟ้องพร้อมตัวผู้ต้องหาหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่มีตัว ต้องระบุที่อยู่ของจำเลยต่อศาลฎีกา ส่วนการยื่นประกันตัวเป็นสิทธิของจำเลยที่จะยื่นต่อศาลฎีกาฯ รวมทั้งการมีเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศอยู่ในดุลพินิจของศาลฎีกาฯ

ไม่มีสิทธิห้ามเดินทางไปตปท.

"กรณีมีข้อไม่สมบูรณ์ (พยานหลักฐาน ไม่ครบถ้วน) อสส.จะตั้งข้อไม่สมบูรณ์แจ้ง ป.ป.ช. ภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง เมื่อ ป.ป.ช.ได้รับแจ้งข้อไม่สมบูรณ์แล้ว ป.ป.ช. และอสส.ต้องตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ให้เสร็จภายใน 14 วัน กรณีตกลงกันได้ อสส.จะยื่นฟ้องคดีตามนั้น หากตกลงกันไม่ได้ ป.ป.ช.ต้องฟ้องคดีเองภายใน 14 วัน" นายตระกูลกล่าว

นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนัก งานคดีแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงอำนาจการสั่งห้าม น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศว่า ในคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากมีการยื่นฟ้อง ต้องยื่นต่อศาลฎีกาฯนั้น ตั้งแต่ชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช. มาถึงชั้นพิจารณาสำนวนของอัยการสูงสุด ตัวผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้อยู่ในการควบคุมตัว โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมาปรากฏตัวเมื่อฟ้องคดีและศาลฎีกาฯออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีเป็นจำเลยตามขั้นตอน ดังนั้น ระหว่างนี้อัยการไม่มีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะสั่งห้ามผู้ถูกกล่าวหาเดินทางออกนอกประเทศ หรือจะร้องศาลสั่งห้ามออกนอกประเทศ แต่ถ้ายื่นฟ้องคดีแล้ว การพิจารณาห้ามเดินทางออกนอกประเทศอาจเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อขณะนี้คสช.อนุญาตให้น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศได้ ก็เป็นอำนาจของ คสช. ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนอสส.มีเวลา 30 วันพิจารณาสำนวนหลักฐาน ที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งจะส่งมาให้กับอัยการต่อไป

บิ๊กตู่วอนมิตรประเทศร่วมมือคสช.

เมื่อเวลา 20.30 น. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า ตนมีเรื่องขอความร่วมมือเพื่อที่เราจะได้ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียงกัน อยากให้มิตรประเทศร่วมกับเราในการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ ซึ่งจะเห็นว่าขณะนี้ไทยพยายามกลับมาสร้างพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง น่าจะทำ ให้ความสัมพันธ์ในฐานะหุ้นส่วนกับนานา ชาติให้ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น คสช.ไม่ต้องการคำชมเชย เราทำเพื่อปลดล็อกออกจากหนทางตีบตัน ตอนนี้คิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยและมิตรประเทศจะช่วยกันมองสู่อนาคต และหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีกในการเป็นประชาธิป ไตยของไทย

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การที่ คสช.เข้ามาจัดระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ไม่น่าทำให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป หรือมีผลกระทบต่อโอกาสของไทยที่มีต่ออาเซียนและประชาคมโลก เราไม่อยากให้มิตรประเทศจำกัดบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของทหารหรือคสช.ในเวลานี้ ขอให้ไทยยังคงมีส่วนร่วมในเวทีนานาชาติต่อไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อมิตรประเทศมากกว่าเดิม

ขอให้ช่วยกันตั้งเสาหลักปชต.

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า คนไทยต่างหวังจะเห็นอนาคตที่ดีของประเทศ คืนสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้น มีระบบคุ้มครองหลักนิติธรรม นิติรัฐที่เหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจอย่างแท้จริง มีการตรวจสอบความโปร่งใสที่มีประสิทธิภาพ ให้กระบวนการปฏิรูปมีส่วนช่วยแก้ไขสิ่งที่เราล้มเหลวมาในอดีต และวางพื้นฐานพัฒนาสิ่งดีๆ สำหรับประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน

หัวหน้าคสช.กล่าวว่า การจะวัดคำว่าประชาธิปไตย น่าจะมากกว่าการดูการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ ควรวัดว่าเลือกตั้งแล้วจะทำให้เกิดอะไร ได้อะไรกับประชาชนอย่างยั่งยืนมากกว่า ซึ่งการปฏิรูปในระยะต่อไป เราจะเน้นปฏิรูปการเมือง ต่อต้านคอร์รัปชั่น ระบบธรรมาภิบาลมีความโปร่งใส มีกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ มีการถ่วงดุลและคานอำนาจของรัฐบาลอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้หากเราช่วยกันตั้งเสาหลักแห่งประชาธิปไตยของไทยให้มั่นคงย่อมดีกว่าการวิจารณ์เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการเรียกร้องเลือกตั้งให้ได้โดยเร็ว เราผ่านการลองผิดลองถูกหลายครั้ง หากเราทำสำเร็จ เราจะเป็นประชาธิปไตยที่เป็นประโยชน์กับคนไทยและมิตรประเทศอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน จึงขอเวลาคนไทยกับมิตรประเทศสร้างหนทางเดินไปข้างหน้าร่วมกัน 

อย่าโจมตีตามแบบปชต.ปัจจุบัน

หัวหน้าคสช.กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้ที่เห็นต่างจาก คสช. ไม่อยากให้ทุกคนมองข้ามการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย โดยลืมนึกถึงความปลอดภัย การทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหาร งานที่ผิดพลาด และคิดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ บางครั้งอาจเร่งด่วนเกินไปที่จะคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเมื่อกองทัพเข้ามาเกี่ยวพันกับการเมือง ขอให้เปิดใจรับรู้ต่อความเป็นจริงของเหตุการณ์และสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้น สำหรับมิตรประเทศและแนวร่วมต่างชาติ อยากให้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในทางที่ดีขึ้นหลังวันที่ 22 พ.ค. หากจะกรุณาไม่เร่งโจมตีเราตามแบบของประชาธิปไตยโลกในปัจจุบัน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การปฏิรูปในขั้นที่ 2 ทั้ง 11 เรื่องหรือมากกว่านั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคการเมือง ข้าราชการ เอกชน ประชาสังคม ประชาชน ตราบใดที่ความเห็นแต่ละฝ่ายยังไม่ตกผลึก ในระยะที่ 2 ย่อมยากจะนำไปสู่การปฏิรูปและการปฏิบัติในระยะที่ 3 ได้ ขณะนี้ คสช.เปิดให้ทุกส่วนได้แสดงความคิดเห็นในการปรองดองและปฏิรูปของ คสช. ทั้งนี้ สมาชิกสภาปฏิรูปจำเป็นต้องสมัครเข้ามาและหาข้อยุติให้ได้ในสภาปฏิรูป ดังนั้น เมื่อเปิดรับสมัครก็ขอให้สมัครเข้ามาดีกว่าออกมาพูดในขณะนี้ เพราะไม่มีประโยชน์ใดเลย มีแต่สร้างความแตกแยกให้สังคม และแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการปฏิรูปประเทศ

ยัน 30 บาททุกโรคยังดำเนินการต่อ

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การดูแลในรูปแบบรัฐสวัสดิการ เช่น การรักษาพยาบาล 30 บาทยังคงดำเนินการอยู่และต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพในการรักษาพยาบาล ฉะนั้น ใครพูดอะไร อย่าไปรับฟังให้มาก เพราะจะสับสน เนื่องจากยังไม่ได้ประกาศอะไรเลย เรื่องนี้มีความสำคัญ เรามองถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก แต่ต้องใช้งบจำนวนมาก หากงบถูกนำมาใช้ในเรื่องนี้มากเกินไป งบอื่นๆ เช่น การลงทุนของรัฐจะเป็นปัญหา เราจะหาหนทางในเรื่องรัฐสวัสดิการที่ดีที่สุดต่อไป ซึ่งการใช้จ่ายงบในเรื่องประชานิยมโดยไม่จำเป็น วันนี้เรามีการทบทวนทั้งหมด ขณะนี้การปรับปรุงด้านภาษียังไม่ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม รายได้ของรัฐไม่สามารถเก็บได้ตามที่ประมาณการไว้ ซึ่งน่าเป็นห่วง

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากยังมีปัญหาเรื่องปากท้อง ปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นช่องว่างให้ผู้มีอิทธิพลข่มขู่ทวงหนี้ จึงให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาเสนอร่างพ.ร.บ.ทวงถามหนี้ เพื่อแก้ปัญหาการทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งคสช.จะนำเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวทันทีหลังมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า คสช.เห็นว่าหากให้มีการเลือกตั้งดังกล่าว อาจเป็นประเด็นขัดแย้งขึ้นมาอีก เพื่อรักษาบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิรูป ขอความร่วมมือระยะหนึ่ง ชะลอการจัดการเลือกตั้งอปท.ออกไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ระหว่างนี้หากมีสมาชิกสภาอปท.ที่ครบวาระ จะใช้กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาทดแทนไปก่อน เพื่อให้สภาอปท.มีจำนวนสมาชิกเพียงพอปฏิบัติงานได้ โดยบุคคลที่ได้รับการสรรหาจะมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองน้อยที่สุด จำเป็นต้องคัดเลือกบางส่วนมาจากข้าราชการ

เรียกร้องคนที่อยู่ตปท.กลับมา

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า คสช.ทราบดีถึงความห่วงใยทั้งในและต่างประเทศ ทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนการปฏิบัติของ คสช. แต่อยากพูดให้ทุกคนเข้าใจ และขอให้ทุกคนร่วมมือกันแก้ปัญหาของประเทศให้ลุล่วงในเวลารวดเร็ว ย่อมดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถ้าเราปล่อยปละละเลยกัน ไม่ร่วมมือกัน หรือปล่อยให้ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม จะแก้ไขอะไรไม่ได้อีก ทำให้ทะเลาะขัดแย้งกันไปอีก ฉะนั้นหากใครที่ไม่เห็นด้วย อย่าเพิ่งคัดค้าน บางคนไม่รู้ข้อมูลอย่างแท้จริงก็โต้แย้งในทุกประเด็นที่ คสช.ทำอยู่ หรือทุกประเด็นที่ตนพูดออกไป บางทีไม่ฟังว่าพูดอะไร บางทีฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง แล้วเอาความคิดของตนเองเป็นหลัก

"สิ่งที่ทำวันนี้ ผมกลั่นกรองมาจากหลายภาคส่วนด้วยกัน และประชาชนส่วนใหญ่เป็นกำลังใจให้เราในการทำหน้าที่ ลองไปตัดสินใจดูอีกครั้ง ผู้ที่ยังอยู่ต่างประเทศก็กลับมา คสช.จะให้ความเป็นธรรม เราจะต่อสู้กันไปทำไม ถ้าเรากลับมาร่วมมือกัน ผมคิดว่าคนไทยต้องให้อภัยกันอยู่แล้ว กรุณากลับมา เราจะขัดแย้งกันต่อไปไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันนำประเทศชาติสู่อนาคตที่ดีในวันข้างหน้า ผมอยากพูดให้พวกเราเข้าใจกัน และแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ดีเดย์ 19 ก.ค.-ปรับปรุงทำเนียบ

เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เจ้าหน้าที่สำนักโฆษกสำนักเลขาธิการสำนักนายกฯ ได้ประสานเจ้าหน้าที่ทหารขนย้ายสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะโต๊ะ เก้าอี้ ที่ใช้ในศูนย์แถลงข่าวภายในตึกนารีสโมสรไปไว้ยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถนนพิษณุโลกชั่วคราว ระหว่างปรับปรุงตึกนารีสโมสร อาคาร สถานที่และภูมิทัศน์ภายในทำเนียบ ส่วนเจ้าหน้าที่ของสำนักโฆษกฯ นั้น ย้ายไปปฏิบัติงานที่ตึกผู้แทนการค้าภายในทำเนียบแทน โดยกรมยุทธโยธาทหารบก ซึ่งรับผิดชอบตึกนารีสโมสร จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.เป็นต้นไป

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังปรับปรุงและ ซ่อมแซมตึกนารีสโมสรแล้ว เบื้องต้นจะยัง คงใช้ตึกนารีสโมสรเป็นศูนย์แถลงข่าวตามเดิม หลังจากมีข้อท้วงติงและกระแสวิพากษ์วิจารณ์แผนจะใช้ตึกนารีสโมสรทั้งหมดเป็นสถานที่รับรองแขกของนายกฯ รองนายกฯ และที่ปรึกษา ว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นจะปรับ ปรุงห้องทำงานของโฆษกประจำสำนักนายกฯ และห้องทำงานของรองโฆษกทั้งหมดให้เป็นห้องรับรองแขกของรัฐบาลแทน โดยย้ายห้องทำงานทั้งหมด ไปอยู่ชั้น 4 ตึกบัญชาการ 2 หลังจากปรับปรุงเสร็จ 

ผกก.สันติบาลแจงเบี้ยเลี้ยงตร.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.อ.ภพธร จิตต์หมั่น ผกก.4 บก.ส.3 ทำหนังสือชี้แจงกรณีสื่อ มวลชนนำเสนอข่าวร้องเรียนจากตำรวจสันติบาลในทำเนียบกลุ่มหนึ่ง ยังได้รับเบี้ยเลี้ยงไม่ครบจำนวนจากการเข้าเวรในช่วงที่มีประกาศ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณา จักร ตั้งแต่เดือนก.พ.จนถึงปัจจุบันว่า ตำรวจที่ปฏิบัติงานควบคุมความไม่สงบตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2556-19 พ.ค. 2557 นั้น ผกก.4 บก.ส.3 ได้เบิกค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานโดยเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุมัติเบิกจ่ายไปแล้วตามห้วงเวลาต่างๆ ปัจจุบันยังเหลืออีก 3 ช่วง คือวันที่ 21 ก.พ. - 18 มี.ค. 2557, วันที่ 19 มี.ค. - 30 เม.ย. 2557 และวันที่ 1-19 พ.ค. 2557 ซึ่งทั้ง 3 ช่วงเวลาอยู่ระหว่างดำเนินการทางเอกสารเพื่อเบิกจ่าย ซึ่งได้ชี้แจงให้ข้าราชการตำรวจรับทราบแล้ว

"การเบิกจ่ายเบี้ยงเลี้ยงของตำรวจ ไม่ว่าที่ทำเนียบหรือที่อื่นต้องมีขั้นตอน ซึ่งอาจใช้เวลาบ้างตามระเบียบราชการ ไม่ใช่ว่าผู้บังคับบัญชาไม่ดำเนินการให้ เพียงแต่อาจไม่ทันใจผู้ปฏิบัติ ยืนยันว่าไม่มีการละเลยและได้ทำความเข้าใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว" พ.ต.อ.ภพธรกล่าว 





前總理穎拉(18日)親自公開發表聲明,質疑國家肅貪委員會的辦案過程符合國際標準,稱肅貪委員會在辦理大米典押弊案過程中存在歧視作法,對倉促結案表示不滿,同時還提出7項質疑,並希望最高檢察院秉持公正立場進行審核。最高檢察院則表示,會成立專門委員會審核肅貪委員會送交案件的調查結果。
穎拉昨天協同律師舉行新聞發布會,就肅貪委員會對她涉及的大米典押計畫舞弊案調查結果做出表態。穎拉表示,她不理解肅貪委員會為何急於定案,為何無理回絕對當事人所提證人的證詞補充。而她此前提出的短期出境旅行請求,與肅貪委員會得出的調查結論毫無關係。若獲准出境,她也會按期返回,絕對不會對支持她的人棄之不顧。
同時,穎拉還在新聞發布會上對肅貪委員會的定案提出7點質疑,包括:
1、調查過程是否公正?肅貪委員會從接到投訴、決定立案展開調查再到傳訊她接受質詢,整個過程僅用了21天,並用140天得出調查結論,判定其罪名成立,而民主黨涉及的類似案件用時4年都沒有定論;
2、肅貪委員會在調查過程中並沒有全部核查事實真相,對已有爭議的賬目也不進行認真核查;
3、大米典押計畫是依照輔助農民的政策而實施,作為政府總理本應成為該項計畫的主要負責人,但具體職責只是協調各方執行好計畫而已。具體執行者是下屬相關部門負責人,即便存在舞弊行為,也是下屬部門出了問題,但肅貪委員會指控的反而是該項計畫最高負責人。
4、肅貪委員會在以往的新聞發部會中,曾表明大米銷售環節涉及的弊案與本人無關,但現在又反過來指控本人也涉及銷售環節的舞弊行為;5、肅貪委員會在辦案過程中有選擇性地聽取其對手的證詞,本人曾多次要求肅貪委員會增加對重要證人的證詞補充,因為這些證詞都能證明本人並沒有任何舞弊,但肅貪委員會同樣以強硬立場回絕,而且到目前為止對國家庫存大米情況的檢查尚未完成;6、肅貪委員會在得出結論前是否有意避開了對本人有利的證詞錄取?7、外界揣測本人請求准許短期出境旅行,是有意逃避肅貪委員會的定罪以及最高檢察院的起訴,但本人承諾並不知道肅貪委員會何時得出調查結論,出國旅行的計畫也是肅貪委員會得出定論之前確定的,即便仍獲准出國旅行,也會按期返回泰國,不會將支持者棄之不顧。
穎拉還否認其歐洲之行是為了逃避法律責任,稱她現在只是一個普通公民,應該享有和所有泰國人一樣的權利,重申不會放棄泰國人身分。
穎拉的律師披集表示,肅貪委員會不應急於向總檢察長辦事處提交其結案報告,以此來阻止穎拉的歐洲之行,因為肅貪委員會完全可以在法律規定的14天時間範圍內完成相關事宜。
披集稱,穎拉的旅歐計畫是早就安排好的,她沒有利用出國旅行逃避法律責任的故意。這位律師稱,他的團隊將尋求總檢察長辦事處的幫助,使穎拉能獲得公平的待遇。